วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ห้องเรียนครูเซรี่ DNA ตอนที่ 1

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่40 ฉบับที่ 3 (พิเศษ) กันยายน-ธันวาคม 2552










Hello. จุฑา ศุภ ยินดีต้อนรับคะ = Get…ไอเดียกับโทรทัศน์ครู

Get…ไอเดียกับโทรทัศน์ครู
จุฑามาศ  ศุภพันธ์
หลักสูตรวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ดิฉันเป็นอาจารย์ที่รับผิดชอบสอนวิชาพันธุศาสตร์  ซึ่งจากการกล่าวขานของนักเรียนในแต่ละเจนเนอเรชันที่ผ่านมาต่างบ่นว่ายากมากถึงมากที่สุด เนื่องจากต้องใช้จินตนาการสูงในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกการทำงานของสารพันธุกรรมอีกทั้งมีศัพท์เทคนิคที่เป็นภาษาอังกฤษซึ่งเป็นของแสลงสำหรับนักเรียนในยุคสมัยนี้ ในส่วนของแลปก็ต้องใช้อุปกรณ์และสารเคมีที่มีราคาแพงยิ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับ DNA ดังนั้นบางโรงเรียนที่มีงบประมาณน้อยไม่ต้องพูดถึง ดังนั้นบทหนักจึงต้องตกอยู่ที่อาจารย์ประจำวิชาเนื่องจากจะต้องมีเทคนิคที่ทำให้นักเรียนมีเฟิร์สอิมเพรสชันกับวิชานี้ให้ได้มิฉะนั้นจะเขาจะรู้สึกแอนตี้วิชานี้ขึ้นมาทันทีซึ่งถือเป็นความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพครู
 จนกระทั่งวันหนึ่งหลังจากที่ดิฉันเสร็จสิ้นจากการพิมพ์โครงการสอนแล้ว นึกขึ้นมาได้ว่าเคยได้ยินว่ามีเว็บเพจของโทรทัศน์ครูก็เลยลองเข้าไปดูในห้องของอาจารย์ Ceri ที่เกี่ยวกับการอธิบายเรื่องของดีเอ็นเอก็ได้รับไอเดียขึ้นมาทันทีว่าการเรียนการสอนในรายวิชานี้มีวิธีที่ทำให้นักเรียนของดิฉันมีความสนใจและสนุกได้ โดยกิจกรรมที่ดิฉันได้ดูในวีดีโอคลิปที่ลิ้งค์ไว้ในวันนั้นเป็นกิจกรรมเรื่องการถอดรหัสพันธุกรรมและการแปลรหัสพันธุกรรมซึ่งนักเรียนจะต้องมีจินตนาการในกลไกของการทำงานของ DNA ,rRNA,mRNA และ tRNA จนถึงกระบวนการโมดิฟายด์กรดอะมิโนที่แปลรหัสได้เพื่อทำงานต่อไป เป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจมากสำหรับนักเรียนที่เพิ่งเรียนวิชานี้เป็นครั้งแรก ดังนั้นเพื่อเป็นการทำความเข้าใจในภาพรวม ในกิจกรรมได้นำกระดาษที่ต่างสีกันนำมาเรียงเป็นสายยาวแทนเบสในสาย mRNA แล้วให้นักเรียนไปหาการ์ดที่แปลการเรียงของกระดาษสีสามสีซึ่งเปรียบเสมือนรหัสทางพันธุกรรมที่อยู่บน tRNA แล้วนำไปต่อกับแผ่นภาพบนจิ๊กซอร์ซึ่งเปรียบเสมือนกรดอะมิโนที่แปลรหัสได้ออกมา กิจกรรมทั้งหมดครอบคลุมไอเดียของการเรียนการสอนในเรื่องของการถอดรหัสพันธุกรรมและการแปลรหัสพันธุกรรมทั้งหมด ที่เด็ดไปกว่านั้นเนื่องจากจิ๊กซอร์ที่ต่อได้นั้นเป็นภาพรถยนต์แต่จากการแปลรหัสที่ได้มานั้นเป็นเพียงภาพล้อรถ ซึ่งมีแค่ล้อเพียงอย่างเดียวนั้นรถยังวิ่งไม่ได้ต้องมีการแปลรหัสต่อไปเรื่อยๆจนได้รถครบทั้งคันเป็นการต่อยอดว่ากรดอะมิโนที่แปลได้ต้องถูกโมดิฟายด์ให้กลายเป็นโปรตีนที่สามารถทำงานได้ นอกจากนั้นในคลิปยังแถมวิธีการสกัด  DNA จากอุปกรณ์ที่สามารถหาได้จากในครัวได้ เช่น ตับ มูลิเน็กซ์ น้ำยาล้างจาน เกลือ ว้อดกา(อันนี้สามารถประยุกต์ใช้เหล้าขาวแทนได้) จนกระทั่งสุดท้ายใช้ไม้จิ้มฟันยืดสาย DNA ออกมา เป็นการทำสิ่งที่อยู่ภายในนิวเคลียสที่มองไม่เห็นออกมาให้นักเรียนสามารถมองเห็นได้ เมื่อดูจบดิฉันคิดว่าถ้าได้ให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมเหล่านี้นักเรียนของดิฉันจะต้องมีเฟิร์สอิมเพรสชันกับวิชานี้แน่นอน และต่อมาดิฉันก็นำไปประยุกต์ใช้จริงจนถึงปัจจุบัน นับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมาหลังจากมีเวลาว่างจากงานอื่นแล้วสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับดิฉันคือจะต้องอัปเดตคลิปใหม่ๆในโทรทัศน์ครูเสมอ และในหลายๆไอเดียดิฉันก็นำไปประยุกต์ใช้กับนักเรียนของดิฉันอยู่ตลอดซึ่งก็ได้รับฟีดแบคที่ดีจากนักเรียนมาตลอด
ท้ายนี้ดิฉันขอขอบคุณโทรทัศน์ครูที่ช่วยในการแชร์ความรู้ และเทคนิคในการเรียนการสอนต่างๆให้แก่อาจารย์ในหลากหลายสาขาทำให้เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย เป็นการกระจายความรู้ให้มีความท่าเทียมกัน หากไม่มีโทรทัศน์ครูดิฉันก็คงยังสอนแบบเดิมและนักเรียนองดิฉันหลายคนก็คงต้องมีแบดอิมเพรสชันกับวิชานี้ไปอีกหลายเจนเนอเรชัน
ที่มา        :  http://www.thaiteachers.tv/ado2.php?id=265
:  ห้องเรียนครูเซรี่ ดีเอ็นเอ ตอนที่ 1 - Ceri Evans' Masterclass : DNA
:  ความยาว : 15.38 นาที | Online : 2010-08-22